เทคนิคตั้งชื่อเว็บ จากบริษัทรับทำเว็บไซต์
Scarica e ascolta ovunque
Scarica i tuoi episodi preferiti e goditi l'ascolto, ovunque tu sia! Iscriviti o accedi ora per ascoltare offline.
Descrizione
อ้างอิงเนื้อหารับทำเว็บไซต์ : WebsiteBigbang https://www.bigbang.co.th/Web-Design 1. ชื่อเว็บไซต์ที่ซ้ำกับเว็บไซต์อื่น ฟังเคล็บลับการตั้งชื่อเว็บไซต์ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของการตั้งชื่อเว็บไซต์คือ ชื่อที่เราคิดไว้มักจะมีคนจดทะเบียนไปแล้ว โดยเฉพาะชื่อที่มีความหมาย และชื่อเว็บไซต์สั้นๆ ไม่ว่าจะคิดมากี่ชื่อก็มีเจ้าของแล้วทั้งนั้น จึงอยากให้ลองฟังกันดูเผื่อว่าจะใช้ไปเป็นแนวทางสําหรับผู้ที่กําลังเริ่มต้นทําเว็บไซต์ เพราะการเริ่มทําเว็บไซต์สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ชื่อเว็บไซต์ของคุณจะใช้ชื่อว่าอะไร 2. แนวทางการตั้งชื่อเว็บไซต์ การตั้งชื่อเว็บไซต์ควรที่อ่านง่าย พูดง่าย จําง่าย จดง่าย และสั้นที่สุด เพราะชื่อเว็บไซต์จะอยู่กับเราไปตลอด อีกทั้งเรายังจะต้องใช้ชื่อเว็บไซต์ไปทํานามบัตร แสดงบนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ มากมาย จึงไม่ใช้เรื่องง่ายหากต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์กันภายหลัง ถ้ามีแนวทางที่จะสามารถตั้งชื่อเว็บไซต์ไปในทางที่ง่ายต่อการจดจํา สอดคล้องกับการสร้างแบรนด์ด้วย ก็จะยิ่งดี...
mostra di piùhttps://www.bigbang.co.th/Web-Design
1. ชื่อเว็บไซต์ที่ซ้ำกับเว็บไซต์อื่น
ฟังเคล็บลับการตั้งชื่อเว็บไซต์ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของการตั้งชื่อเว็บไซต์คือ ชื่อที่เราคิดไว้มักจะมีคนจดทะเบียนไปแล้ว โดยเฉพาะชื่อที่มีความหมาย และชื่อเว็บไซต์สั้นๆ ไม่ว่าจะคิดมากี่ชื่อก็มีเจ้าของแล้วทั้งนั้น จึงอยากให้ลองฟังกันดูเผื่อว่าจะใช้ไปเป็นแนวทางสําหรับผู้ที่กําลังเริ่มต้นทําเว็บไซต์ เพราะการเริ่มทําเว็บไซต์สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ชื่อเว็บไซต์ของคุณจะใช้ชื่อว่าอะไร
2. แนวทางการตั้งชื่อเว็บไซต์
การตั้งชื่อเว็บไซต์ควรที่อ่านง่าย พูดง่าย จําง่าย จดง่าย และสั้นที่สุด เพราะชื่อเว็บไซต์จะอยู่กับเราไปตลอด อีกทั้งเรายังจะต้องใช้ชื่อเว็บไซต์ไปทํานามบัตร แสดงบนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ มากมาย จึงไม่ใช้เรื่องง่ายหากต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์กันภายหลัง ถ้ามีแนวทางที่จะสามารถตั้งชื่อเว็บไซต์ไปในทางที่ง่ายต่อการจดจํา สอดคล้องกับการสร้างแบรนด์ด้วย ก็จะยิ่งดี
3. ผู้ให้บริการรับทำเว็บไซต์
ผู้ให้บริการรับทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีในส่วนของการรับจดทะเบียนโดเมนไว้ด้วยอยู่แล้ว และมักจะรวมไว้กับการทําเว็บไซต์ให้กับลูกค้าไว้ด้วยเลย เพื่อความสะดวกในการทำงาน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทําเว็บไซต์คือ ชื่อเว็บไซต์ที่ทางผู้ให้บริการรับทำเว็บไซต์ให้กับเรานั้นเป็นสิทธิ์ของเรา เป็นชื่อของเรา ที่เป็นเจ้าของโดเมนหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นปัญหาได้ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการทําเว็บไซต์ จะต้องสามารถย้ายออกโดเมนของเราได้ จึงมีความจำเป็นต้องสอบถามไปยังผู้ให้บริการเว็บไซต์ดูว่า สามารถย้ายโดเมนออกได้ภายหลังหรือไม่
4. ข้อดีของการทําเว็บไซต์ด้วยโดเมน .co.th
จากที่อธิบายไปด้านบนในเรื่องของสิทธิ์เจ้าของโดเมนว่าจะสามารถย้ายโดเมนออกจากผู้ให้บริการเดิมได้หรือไม่นั้น จะไม่เป็นปัญหากับผู้ที่จดทะเบียนโดเมนชื่อเว็บไซต์ที่มีนามสกุลโดเมนเป็น .co.th เนื่องจากเจ้าของโดเมนสามารถย้ายปลายทางได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าผู้ให้บริการเดิมจะย้ายโดเมนให้เราหรือไม่ เพราะในการย้ายโดเมนไปใช้กับผู้ให้บริการที่ใหม่นั้น สามารถใช้เพียงเอกสารรับรองบริษัท และลายเซ็นผู้มีอำนาจ เท่านั้นก็สามารถย้ายโดเมนจากที่เดิมได้แล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทําให้ไม่ต้องกังวลใจในเรื่องของสิทธิ์เจ้าของโดเมน
5. จดโดเมนที่ Google Domain
ปัจจุบันทาง Google เองได้มีให้บริการรับจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์แล้วสามารถเข้าดูได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง ซึ่งรับรองได้ว่าท่านจะเป็นเจ้าของโดเมนเองอย่างแท้จริง แต่ท่านอาจต้องมีความรู้อยู่บ้างสักหน่อยในการตั้งค่าเพื่อไปใช้พื้นที่เว็บไซต์กับผู้ให้บริการเว็บไซต์ โดยเมื่อเว็บไซต์เสร็จแล้วจะต้องมีการเปลี่ยนค่า DNS ให้เป็นไปตามที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์เค้ากำหนดมา ซึ่งในการเปลี่ยนค่า DNS ของที่เราซื้อกับทาง Google Domain เองก็ไม่ได้ยากอะไร และที่สำคัญมีนามสกุลโดเมนให้เลือกใช้เยอะมากมาย สามารถแก้ปัญหาชื่อเว็บไซต์ซ้ำกับคนอื่นๆ ไปได้มากเพราะเราสามารถใช้ชื่อที่เราต้องการ แต่อาจจะเลือกนามสกุลอื่นๆ ที่ทาง Google Domain มีให้เลือกอยู่อย่างมากมาย
https://domains.google.com/registrar/search?searchTerm=bigbang.co.th%2FWeb-Design&hl=th
6. การใช้อีเมล์ตามชื่อเว็บไซต์
ผู้ให้บริการรับทําเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีให้บริการคู่กับการทําเว็บไซต์ไว้อยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละผู้ให้บริการทําเว็บไซต์นั้นจัดแพ็คเกจราคาการทําเว็บไซต์ รวมไว้กับการใช้งานอีเมล์แล้วหรือไม่ หลังจากที่เรามีชื่อเว็บไซต์แล้วนั้น จะสามารถตั้งชื่ออีเมล์ของเราเป็นอะไรก็ได้ แต่ตั้งใช้ชืออีเมล์ตามข้อกำหนดคือต้องเป็นตัวอักษร a-z, 0-1 และไม่มีสัญลักษณ์พิเศษ เช่น sales@domain.com หรือ i@domain.com เพียงตัวอักษรตัวเดียวก็สามารถใช้ได้เช่นกัน และสำหรับท่านที่คุ้นชินกับการใช้งาน Gmail มาก่อน ท่านสามารถเลือกใช้งานระบบของ Gmail โดยใช้ชื่อเว็บไซต์ของเราลิ้งค์เชื่อมโยงกับระบบของ Gmail ได้ โดยทําการสอบถามไปยังผู้ให้บริการเว็บไซต์ว่าสามารถใช้งานได้อย่าง และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเท่าใด
แนวทางการตั้งชื่อเว็บไซต์มีรายละเอียดมากมาย แต่หยิบยกเฉพาะบางส่วนที่จําเป็นต้องรู้ ต้องเข้าใจ เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการทําเว็บไซต์ จากประสบการณ์ที่ให้บริการรับทําเว็บไซต์มากกว่า 10 ปี น่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มาก ก็น้อย ฟังกันแบบสบายๆ เพลินๆ เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน
Informazioni
Autore | WebsiteBigbang |
Organizzazione | WebsiteBigbang |
Sito | - |
Tag |
-
|
Copyright 2024 - Spreaker Inc. an iHeartMedia Company
Commenti